บล็อก เรื่องเล่า ตำนานเล่าขาน กีฬา และประวัติศาสตร์

Category: Hosting

โดเมนกับ Hosting มีหน้าที่ในการสร้างเว็บไซต์อย่างไร ?

ปัจจุบันนี้โซเชียลมีเดียนับเป็นสื่อที่มาแรง ทำให้ผู้คนได้สร้างเว็บไซต์กันอย่างมากมายและได้มีการจัดเตรียมบทความหรือวิดีโอต่าง ๆ เพื่อเพิ่มยอดคนดูเว็บไซต์ ด้วยเหตุนี้ เราจึงมาบอกข้อมูลเกี่ยวกับหน้าที่ของโดเมนกับ Hosting ในการสร้างเว็บไซต์เพื่อคุณจะได้เข้าใจมากขึ้น ซึ่งมีอะไรบ้าง ตามมาดูกัน

หน้าที่ของโดเมนในการสร้างเว็บไซต์

โดเมน คือ ชื่อหรือที่อยู่ของเว็บไซต์ที่ผู้สร้างเว็บไซต์จะต้องมี เพื่อให้คนได้พิมพ์เข้าไปในเว็บบราวเซอร์ เช่น www.google.com โดยให้สังเกตคำว่า .com ซึ่งจะใช้กับบริษัทหรือองค์กรทั่วไป ถ้าใช้กับผู้ให้บริการเครือข่ายจะเป็น .net หรือถ้าใช้กับองค์กรที่ไม่หวังกำไรจะเป็น .org ส่วนในกรณีที่เป็นโดเมนระดับประเทศ เช่น บริษัทหรือองค์กรในประเทศไทยจะเป็น .co.th ผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศไทยจะเป็น .net.th องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในประเทศไทยจะเป็น .or.th องค์กรการศึกษาในประเทศไทยจะเป็น .ac.th หน่วยงานภาครัฐในประเทศไทยจะเป็น .go.th สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนประกอบแรกที่สำคัญของโดเมน หากจะเปรียบเทียบคล้าย ๆ กับนามสกุลของเว็บไซต์นั่นเอง

สำหรับส่วนประกอบที่สอง สังเกตคำว่า Google ส่วนนี้เป็นชื่อโดเมน อาจจะตั้งเป็นชื่อบริษัท องค์กร ร้านค้าหรือแม้แต่เป็นชื่อตัวเองก็ได้ และสุดท้ายส่วนประกอบที่สามของโดเมน สังเกตคำว่า www. เป็นตัวแทนของ Subdomain ของเว็บไซต์ ซึ่ง www. เป็นปัญหาสำหรับหลายคนเลยทีเดียวเพราะบางคนบอกว่าต้องมี บางคนบอกว่าไม่ต้องมี ในความจริงจะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่จะมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ ถ้าไม่มี www. จะดูทันสมัยและสั้นกว่า แต่ถ้ามี www. ดูเป็นทางการและยาว อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ต้องรู้สึกกังวลเพราะถึงแม้ว่าคนจะพิมพ์ www หรือ ไม่พิมพ์ ก็สามารถเจอเว็บไซต์ของคุณได้อยู่ดี

หน้าที่ของ Hosting ในการสร้างเว็บไซต์

หลังจากเราค้นหาโดเมนชื่อที่ถูกใจได้แล้ว การคิดชื่อโดเมนควรสัมพันธ์กับเนื้อหาบนเว็บด้วย หากเราต้องการสร้างเว็บไซต์ ทีเด็ดบอลสเต็ป ก็ควรตั้งชื่อที่เกี่ยวข้องกับฟุตบอล สำหรับการสร้างเว็บไซต์จะประกอบด้วย รูปภาพ ไฟล์หรือโปรแกรม ฐานข้อมูลของเว็บไซต์ ซึ่งการเก็บข้อมูลเหล่านี้ต้องอาศัย Hosting นอกจากนี้ Hosting ยังทำให้ลูกค้าไม่ว่าจะมาจากประเทศอะไร สามารถเข้ามาดูเว็บไซต์ได้เสมอเพราะมีการออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะเลือก Hosting ต้องดูพื้นที่ก่อน โดยพื้นที่ขั้นต่ำ 2 GB มีการรองรับ PHP ซึ่งจะเป็น version มากกว่า 5.6 และที่สำคัญที่สุดคือ การบริการตลอดระยะเวลาการเช่า Hosting ที่ต้องมีความเสถียร ไม่ล่ม และมีเจ้าหน้าที่พร้อมช่วยบริการตลอดเวลา

โดเมนกับ Hosting มีการเชื่อมโยงกัน หมายความว่า เวลาที่ได้พิมพ์ชื่อเว็บไซต์หรือโดเมนเข้าไปในเว็บบราวเซอร์แล้ว ก็จะทำให้เว็บบราวเซอร์มีการเชื่อมต่อใน Web Hosting เพื่อดึงข้อมูลต่าง ๆ ของเว็บไซต์ไปแสดงผลให้กับผู้เรียกใช้งาน ดังนั้น หากคุณกำลังจะมีเว็บไซต์ ก็ควรเรียนรู้หน้าที่ของโดเมนกับ Hosting ด้วย เพื่อจะได้มีเว็บไซต์คุณภาพนั่นเอง

สิ่งที่นักธุรกิจออนไลน์ควรรู้เกี่ยวกับ Cloud hosting

Cloud Hosting เป็นคำที่นักธุรกิจทำเว็บไซต์ออนไลน์จะต้องรู้จักในปี 2019 เนื่องจากเกี่ยวข้องโดยตรงกับการให้บริการแก่ลูกค้า การเลือก Cloud Hosting ที่เหมาะสม จะทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินได้อย่างราบรื่น ไม่ติดขัดและรองรับการทำธุรกิจได้ตลอด 24 ชั่วโมง

Cloud Hosting เป็นระบบเทคโนโลยีรุ่นใหม่ที่จะมีการรวม Server หลาย ๆ แหล่งเชื่อมโยงกันเพื่อให้ทำงานพร้อมกันได้ ทำให้เกิดการประมวลข้อมูลจำนวนมากได้เร็ว หากเครื่องใดมีความผิดพลาดเกิดขึ้น ก็จะยังมีเครื่องอื่นมาชดเชย ผลักดันให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ดำเนินไปได้จนเสร็จ

ระบบ Cloud Hosting แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ

1. IaaS หรือ Infrastructure as a Service มีการบริการฮาร์ดแวร์ร่วมกับระบบรักษาความปลอดภัยในคอมพิวเตอร์ ปรับเพิ่มลดขนาดของ CPU Harddisk Ram (หน่วยความจำ)

2. PaaS หรือ Platform as a Service เป็นแพลตฟอร์มที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับการทำงานของระบบฮาร์ดแวร์ หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นส่วนของระบบปฏิบัติการและ Application ต่าง ๆ มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง

3. SaaS หรือ Software as a Service เป็นการให้บริการโปรแกรมซอฟต์แวร์แก่ลูกค้าที่เป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ทำให้ไม่จำเป็นต้องไปลงทุนแพงในการซื้อโปรแกรมและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เมื่อเลือก SaaS จะได้ระบบอีเมล์และระบบการจัดการกับลูกค้า (CRM) ไปใช้งานได้โดยสะดวก

Cloud Hosting กับ Web Hosting มีความแตกต่างกัน คือ ถ้าเป็น Web Hosting จะมีการใช้ Server 1 เครื่อง ถ้าเครื่องมีปัญหาก็จะต้องใช้เวลาในการซ่อมแซมเสียเวลาหลายชั่วโมง ทำให้ธุรกิจสะดุดได้ ส่วนบริการของ Cloud Hosting อาจจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า แต่ก็ช่วยรับประกันได้ว่าจะไม่ทำให้ธุรกิจสะดุด หรือทำให้ต้องเสียลูกค้าไปให้แก่ธุรกิจเจ้าอื่นที่ขายสินค้าหรือบริการประเภทเดียวกัน

ในส่วนของการสำรองข้อมูลก็มีความต่างเช่นเดียวกัน คือ ถ้าเป็นระบบ Web Hosting จะต้องใช้เวลาในการคัดลอกข้อมูลมาก เพื่อสำรองเอาไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งหากวันใดระบบปฏิบัติการมีปัญหา ก็จะต้องใช้เวลามากถึง 2-3 วัน ในการดึงข้อมูลเก่ามาใช้ หรือที่เรียกว่า การ Backup ข้อมูล

แต่ Cloud Hosting จะใช้วิธีการสำรองข้อมูลจะแบบ Snapshot คือสำรองข้อมูลทุกวัน จึงสามารถที่จะกู้ข้อมูลขึ้นมาใช้ได้ทันที ในกรณีที่ระบบมีปัญหาไม่ว่าจะในจุดใด ทั้งยังเก็บข้อมูลได้ย้อนหลังเกือบ 1 เดือนด้วย

จากคุณสมบัติที่กล่าวมา จึงทำให้การเลือกใช้บริการ Cloud Hosting เป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มนักธุรกิจออนไลน์รุ่นใหม่ เนื่องจากเห็นว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่าย และเป็นการป้องกันปัญหาที่จะตามมา เช่น เว็บไซต์ล่ม การดาวน์โหลดข้อมูลช้า ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยของการใช้บริการ Web Hosting ที่ทำให้ธุรกิจต้องชะงักและเสียลูกค้าไปให้คู่แข่ง

สิ่งที่นักธุรกิจออนไลน์ควรรู้เกี่ยว Cloud hosting

Hosting และ server เกี่ยวกับเว็บไซต์ขายของออนไลน์อย่างไร

การขายสินค้าและบริการทางสื่อออนไลน์ในยุคปัจจุบัน เจ้าของแบรนด์จำเป็นต้องรู้จักการเลือก hosting และ server ที่ดีและตอบโจทย์การทำธุรกิจของคุณ ซึ่งทั้งสององค์ประกอบนี้มีความเกี่ยวข้องกับการทำเว็บไซต์อย่างไร มาดูกัน

Hosting และ server เกี่ยวกับเว็บไซต์ขายของออนไลน์

Hosting คือ อะไร

การขายสินค้าบนโลกออนไลน์ ต้องมีการใช้พื้นที่บนโลกเสมือนที่เทียบเคียงได้กับการใช้พื้นที่ในตลาดนัด หรือศูนย์การค้าขนาดใหญ่ หากเลือกตลาดที่มีการบริหารจัดการไม่ดี หรือมีขนาดพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกต่ำกว่าสเปคของธุรกิจคุณ ก็จะไม่สามารถสนับสนุนการขายได้เท่าที่ควร

Server คือ อะไร

เป็นการใช้เทคโนโลยีในการเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าที่มีความต่างจากหน้าร้านจริงตรงที่ต้องดูแลด้านการส่งข้อมูล input output ใน hosting ที่คุณเลือกใช้บริการตลอด 24 ชั่วโมงในทุก ๆ วัน ซึ่งไม่ใช่ว่าจะรองรับเพียงธุรกิจของแบรนด์ใดเท่านั้น ในความเป็นจริงต้องตอบโจทย์การใช้งานของธุรกิจเล็ก กลาง ใหญ่ ที่บริษัท hosting ทำสัญญาจ้างงานรายปี จำนวนหลายร้อยบริษัทพร้อม ๆ กัน

คงเห็นแล้วว่าหากเลือกบริษัท hosting ที่ขาดความพร้อมในทีมช่างเทคนิค โปรแกรมเมอร์ที่ดูแลระบบ และ server ที่มีคุณภาพต่ำ ไม่อัพเกรด หรือมีสเปคต่ำกว่าธุรกิจที่คุณเลือกผูก package ก็จะเป็นผลเสียมากกว่าผลดีในการสร้างความรื่นไหลในการเข้าชมและสั่งซื้อสินค้าและบริการออนไลน์จากผู้ชม แน่นอนว่ามีผลต่อยอดผู้ชมและยอดขายของแบรนด์คุณเป็นอย่างมากด้วย

เว็บไซต์ที่ต่างกันมีผลต่อการเลือก hosting และ server อย่างไร

ในปัจจุบัน เราแยกเว็บไซต์ออกเป็นสองแบบ คือ

1. เว็บไซต์ static มีความหมายว่าเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหา content นิ่ง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามการใช้งานของผู้ชม ผู้ที่จะแก้ไขได้ต้องเป็นทีมงานหรือเจ้าของเว็บไซต์เท่านั้น ที่จะสามารถ upload ข้อมูลใหม่ ๆ ลงไป

2. เว็บไซต์ dynamic เป็นเว็บไซต์ที่มีการอัพเดตข้อมูลตามการโพสต์ของลูกค้า เช่น การรีวิว chat webboard การทำให้เป็นเช่นนี้ได้ต้องวางระบบให้ตอบโจทย์การใช้งานลักษณะนี้ โดยเฉพาะ ทำให้เจ้าของเว็บไซต์ไม่จำเป็นต้องหมั่นมาเข้า website ดูการเปลี่ยนแปลงตลอด

การที่มีคุณสมบัติของเว็บไซต์ในพื้นฐานที่ต่างกันดังกล่าว ทำให้เจ้าของเว็บไซต์ต้องเจรจากับบริษัท hosting ที่มีทีมงาน และ server ที่มีความพร้อมกับธุรกิจของคุณ ซึ่งแต่ละแบรนด์ ก็ต้องการหน้าบ้านออนไลน์ที่มีความโดดเด่นแตกต่างกันไป

Hosting กับ server เกี่ยวกับเว็บไซต์ขายของออนไลน์อย่างไร

การเลือก hosting และserver ที่ดีจึงช่วยเสริมสร้างความก้าวหน้าของธุรกิจให้เติบโต มีความคล่องตัวในการทำงาน ลดความวุ่นวายในการประสานงานกับทั้งลูกค้าและทีมงาน คุณจึงสามารถทำเว็บไซต์ออนไลน์ได้อย่างสบายใจ และมีความสุขกับยอดขายที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ

© 2024 KorSan

Theme by Anders NorenUp ↑